ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ปั้น สุขุม

มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล อภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ทั้งยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานครอีกด้วย

เจ้าพระยายามราช (ปั้น สุขุม) เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม ปีจอ พ.ศ. 2405 สกุลเป็นคหบดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านน้ำตก ริมแม่น้ำฟากตะวันออกข้างใต้ตัวเมืองสุพรรณบุรี บิดาชื่อกลั่น มารดาชื่อผึ้ง มีพี่น้องร่วมมารดา 5 คน ตามลำดับดังนี้

เจ้าพระยายมราชเป็นน้องคนสุดท้องชื่อ ปั้น เมื่อเป็นเด็กอายุได้ 5 ขวบ บิดามารดาพาเจ้าพระยายมราชไปเรียนหนังสือที่วัดประตูสาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี) จังหวัดสุพรรณบุรี เรียนอยู่ได้ไม่ถึงปี มีงานทำบุญในสกุล ได้นิมนต์พระใบฎีกาอ่วม วัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี ไปเทศน์ที่วัดประตูสาร บิดามารดาจึงถวายเด็กชายปั้นให้เป็นศิษย์ เป็นเสมือนใส่กัณฑ์เทศน์ พระใบฎีกาอ่วมจึงพาเด็กชายปั้นไปจากเมืองสุพรรณ เมื่อพ.ศ. 2411 ขณะนั้นเด็กชายปั้นอายุได้ 6 ขวบ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ยินได้ฟังจากเครือญาติของเจ้าพระยายมราช ซึ่งเป็นหลวงยกกระบัตรกรมการเมืองสุพรรณบุรีว่า เจ้าพระยายมราช เป็นบุตรคนสุดท้องมิใคร่มีใครเอาใจใส่นำพานัก บิดามารดาจึงใส่กัณฑ์เทศน์ถวายพระเข้ากรุงเทพฯ ก็มิได้คิดว่าเป็นเด็กชายปั้นจะมาเป็นคนดี ีมีบุญล้ำของเหล่ากอถึงเพียงนี้ ถ้าหากเจ้าพระยายมราชเกิดเป็นลูกหัวปีจะเป็นทายาท ของสกุล บิดามารดาจะถนอมเลี้ยงไว้ที่เมืองสุพรรณจนเติบใหญ่ อย่างมากเจ้าพระยายมราชจะได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน สูงกว่านั้นก็ได้เป็นกรมการ เช่นหลวงเทพสุภาพี่ชาย หรืออย่างดีที่สุดเป็นพระสุนทรสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณเท่านั้น จะไม่ได้เป็นเจ้าพระยายมราชตลอดชีวิต "ข้อที่ท่านเกิดเป็นลูกคนสุดท้องไม่มีใครหวงแหน" ใส่กัณฑ์เทศน์ "ถวายพระพาเข้ากรุงเทพฯนั้น ควรนับว่าบุญบันดาลให้ท่านเข้าสู่ต้นทางที่ จะดำเนินไปจนถึง ได้เป็นรัฐบุรุษวิเศษคนหนึ่งในสมัยของท่าน"

เจ้าพระยายมราชเป็นลูกศิษย์พระใบฎีกาอ่วมอยู่ 6 ปี พระใบฎีกาอ่วมเอาใจใส่ธุระระวังสั่งสอนผิดกับลูกศิษย์วัดคนอื่นๆ เด็กชายปั้นมีกิริยา มารยาทเรียบร้อยผิดกว่าชาวบ้านนอก ส่อให้เห็นว่าท่านได้รับการอบรมมาจากครูบาอาจารย์ที่ดี เรียนเพียง ก.ข. และนะโมที่วัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรีเท่านั้น ความรู้ทั้งหมดได้จากวัดหงส์รัตนารามทั้งสิ้น เพียงอายุได้ 13 ขวบ ก็สามารถเป็นครูสอนคนอื่นได้ นับว่าเป็นอ้จฉริยะคนหนึ่ง ครั้นถึง พ.ศ. 2417 อายุได้ 13 ปี ญาติรับกลับไปโกนจุกที่เมืองสุพรรณ แล้วส่งกลับไปอยู่ที่วัดหงส์รัตนารามกับพระใบฎีกาอ่วมตามเดิม

พ.ศ. 2418 จึงบรรพชาเด็กชายปั้นเป็นสามเณรเล่าเรียนวิชาต่อไปอีก 7 พรรษา คือเรียนเสขิยวัตรกับท่องจำคำไหว้พระสวดมนต์ เรียนหนังสือขอม และหัดเทศน์มหาชาติสำหรับไปเทศน์โปรดญาติโยม เจ้าพระยายมราชเสียงดี อาจารย์ให้เทศน์กัณฑ์มัทรีและให้เรียนภาษามคธ เริ่มด้วยคัมภีร์ "มูล" คือไวยากรณ์ภาษามคธ แล้วเรียนคัมภีร์พระธรรมบท เรียกว่า "ขึ้นคัมภีร์" เพื่อเข้าสอบเปรียญสนามหลวง โดยไปเรียนกับสำนักอาจารย์เพ็ญกับพระยาธรรมปรีชา (บุญ) และสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์เทพวนาราม ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะอาจารย์สอน ในขณะนั้น

พ.ศ. 2425 เจ้าพระยายมราชอายุได้ 21 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดหงส์รัตนาราม สมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ. 2426 เข้าสอบปริยัติธรรม ณ สนามพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ทางคณะมหาเถระวิตกกันว่าจะไม่มีใครสามารถสอบได้ วันแรกภิกษุสามเณรเข้าแปล 4 องค์ตกหมด เป็นเช่นนั้นมาหลายวัน จนถึงกำหนดพระปั้นวัดหงส์เข้าแปล วันแรกได้ประโยค 1 ก็ไม่มีใครเห็นว่าแปลกประหลาด เพราะผู้ที่สอบตกมาก่อนก็สอบได้ พอแปลประโยคที่ 2 ก็มีคนเริ่มกล่าวขวัญกันบ้าง ถึงวันแปลประโยคที่ 3 เป็นวันตัดสินว่าจะได้หรือไม่ จึงมีคนไปฟังกันมาก ทั้งภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ พอแปลได้ประโยคที่ 3 พระมหาเถระพากันยิ้มแย้มยินดี เพราะเพิ่งได้เปรียญองค์แรก จึงเรียก "มหาปั้น" ตั้งแต่วันนั้นเป็นมา

ตอนที่เจ้าพระยายมราชเป็นพระภิกษุเรียนปริยัติธรรมกับมหาธรรมปรีชา (บุญ) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นธุระจัดภัตตาหารมาถวายพระเณรที่มาเรียนกับพระยาธรรมปรีชา (บุญ) ทุกวันจนเป็นที่คุ้นเคยกับพระภิกษุปั้น เวลาพระภิกษุปั้นเข้าสอบปริยัติธรรมสนามหลวง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้ปลอบใจพระภิกษุปั้นว่า อย่าได้หวาดหวั่นและทรงแสดงความยินดีเมื่อสอบได้เปรียญธรรมประโยค จากนั้นพระองค์ก็ไม่ได้พบกับมหาปั้นอีกเลยเป็นเวลาเดือนกว่า

ต่อมาคืนหนึ่งเวลา 20 นาฬิกา พระมหาปั้นไปหาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่โรงทหารมหาดเล็ก นำต้นไม้ดัดปลูก ในกระถางไปด้วย 1 ต้น บอกว่าจะมาลาสึก และเมื่อสึกแล้วจะขอถวายตัวอยู่กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ตรัสว่า "เมื่อได้อุตส่าห์พากเพียรเรียนพระไตรปิฎก มาจนได้เป็นเปรียญมีชื่อเสียงแล้ว ไฉนจะสึกตั้งแต่ยังไม่ได้รับพระราชทานพัดยศ" พระมหาปั้นตอบว่า "ท่านสิ้นอาลัยในการเป็นสมณะ ได้ปลงใจตั้งแต่ก่อนเข้าแปลปริยัติ ธรรมว่าจะสึก ที่เข้าแปลด้วยประสงค์จะบำเพ็ญกุศล อุทิศสนองบุญท่าน ผู้เป็นครูอาจารย์ มาแต่หนหลัง นึกว่าพอแปลแล้วจะตกหรือได้ก็จะสึกอยู่นั้นเอง"

วิถีชีวิตของเจ้าพระยายมราชเริ่มเปลี่ยนไปในทางใหม่อีก หากเจ้าพระยายมราชยังคงอุปสมบทอยู่บวรพระพุทธศาสนา อย่างมากก็คงเป็น พระราชาคณะ เท่านั้น นับเป็นก้าวที่สอง ที่จังหวะชีวิตของเจ้าพระยายมราชก้าวเข้าสู่หนทางแห่งความเจริญของชีวิต ทั้งนี้จักต้องมีคู่สร้างคู่สมให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนกันมาแต่ชาติปางก่อน โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้น ดูจะเป็นสำคัญ

เมื่อลาสิกขาบทแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพอุปสมบทไปจำวัสสาที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่ ใกล้กับพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายปั้นได้ตามไปอยู่กับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ด้วยตลอดพรรษา จึงใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเริ่มเรียนรู้นิสัย ของเจ้าพระยายมราชจนเป็นที่รักใคร่กัน

เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพลาสิกขาบทแล้ว จึงให้นายปั้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2426 อายุ 22 ปี เป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ได้เงินเดือน 16 บาท ต่อมาเลื่อนเป็นครูผู้ช่วย พำนักอยู่กับหม่อมเจ้าหญิงเปลี่ยน และหม่อมราชวงศ์หญิงเขียนที่บ้าน ซึ่งทั้งสองท่านเป็นโยมอุปถากมาตั้งแต่เป็นสามเณร

ต่อมานายปั้นได้ถวายการสอนหนังสือแด่พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ด้วยการชักจูงของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม และพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช โดยจัดห้องเรียนขึ้นต่างหากที่ท้องพระโรงของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเป็น 48 บาท นายปั้นฉลาดในการสอนไม่เหลาะแหละ ประจบลูกศิษย์ แต่ก็ไม่วางตัวจนเกินไป พระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ทรงยำเกรง โปรดมหาปั้นสนิทสนมทุกพระองค์ ต่อมาพระพุทธเจ้าหลวงโปรดฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เข้าเป็นลูกศิษย์ด้วยอีกพระองค์หนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอไปศึกษาในประเทศยุโรป พระพระราชวินิจฉัยเห็นว่าพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ เพิ่งเรียนหนังสือไทยได้เพียงปีเดียว เกรงว่าจะลืมเสียหมด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เลือกครูไปยุโรปกับพระเจ้าลูกยาเธอหนึ่งคน ใน พ.ศ. 2429 ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเลือก "นายปั้น เปรียญ" ไปสอน โดยพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ให้เป็น ขุนวิจิตรวรสาส์น มีตำแหน่งในกรมอาลักษณ์ (แผนกครู)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า ...คิดดูก็ชอบกลอีก ถ้าหากท่านสมัครเข้ารับราชการในกรม มหาดเล็กก็ดี หรือเมื่อสมัคร เป็นครูแล้ว แต่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมิได้โปรดส่งพระเจ้าลูกยาเธอเข้าโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เหมือนอย่างที่เคย ส่งท่านเข้ามาจากเมืองสุพรรณอีกครั้งหนึ่ง น่าพิศวงอยู่...

เล่ากันว่าเจ้าพระยายมราชชักเงินเดือนของตนเองไปจ้างครูสอนภาษาอังกฤษแก่ตัวเองด้วย เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอเสด็จกลับมากรุงเทพฯชั้วคราว เจ้าพระยายมราชตามเสด็จ กลับมาด้วย ถึงกรุงเทพฯต้นปี พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ 5 เป็นบำเหน็จครั้งแรก ขณะที่กลับมานั้น หม่อมเจ้าหญิงเปลี่ยนโยม อุปถากสิ้นชีพตักษัยไปแล้ว ยังคงเหลือหม่อมราชวงศ์หญิงเขียน จึงรับไปอยู่ด้วย รับเลี้ยง เป็นอุปถากสนองคุณให้มีความสุขสบาย เมื่อถึงแก่กรรมก็จัดปลงศพให้ด้วย นับเป็นการแสดงกตเวทิตาคุณแก่ผู้มีพระคุณอันเป็นสิ่งที่ ควรสรรเสริญ

ในขณะที่เจ้าพระยายมราชกลับมาเมืองไทย ได้กราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขอให้เป็นแม่สื่อไปสู่ขอลูกสาว พระยาชัยวิชิต ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงวิเศษสาลี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกระกาดใจเพราะอายุเท่ากัน จึงไปวานให้ พระมารดา ของท่านไปเป็นเถ้าแก่สู่ขอนางสาวตลับ ธิดาคนโตของหลวงวิเศษสาลี ก็ไม่เป็นการขัดข้อง เมื่อแต่งงานแล้วไปอยู่ยุโรปด้วยกัน เพราะพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์เสด็จกลับไปศึกษาต่อ

ต่อมาเจ้าพระยายมราชได้เป็นผู้ช่วยเลขานุการในสถานทูตลอนดอน และต่อมาได้เป็นอุปทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2436 กลับมาเมืองไทยเป็นข้าหลวงพิเศษ จัดการปกครองจังหวัดสงขลาและพัทลุง เมื่อ พ.ศ. 2439 และในปีนั้นเองได้เป็นสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต อันสืบเนื่องมาจากชื่อพระยาสุขุมนัยวินิตนั้น เนื่องมาด้วย พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชวินิจฉัยว่าท่านเป็นคนที่มีสติปัญญาอย่างสุขุม สามารถทำการได้ด้วยการผูกน้ำใจคน ไม่ชอบใช้อำนาจ ด้วยอาญา ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น เวลานั้นท่านเป็นเจ้าพระยายมราชแล้ว กราบบังคมทูลขอพระราชทานคำ"สุขุม" เป็นนามสกุล

พ.ศ. 2449 พระยาสุขุมนัยวินิต ย้ายเข้ามาเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ในชั้นแรกให้รั้งตำแหน่งเสนาบดีอยู่สองสามเดือนก่อน ว่าจะสามารถเป็นเสนาบดีได้หรือไม่ แล้วจึงทรงแต่งตั้งเป็นเสนาบดีเต็มตามตำแหน่ง กระทรวงโยธาธิการในสมัยนั้นมี 3 กรม คือกรมรถไฟ กรมไปรษณีย์-โทรเลข กรมโยธา เฉพาะกรมรถไฟมีฝรั่งเป็นส่วนมาก และกรมไปรษณีย์ไม่เป็นปัญหาที่จะแก้ไขปรับปรุง แต่กรมโยธากำลังยุ่ง ถึงกับต้องเอาเจ้ากรมออกจากตำแหน่ง เมื่อพระยาสุขุมนัยวินิตเข้าไปเป็นเสนาบดี ต้องแก้ไขเรื่องยุ่งๆของกรมโยธา ขณะนั้นกรมโยธากำลังก่อสร้าง พระราชมณเฑียร ในหมู่พระที่นั่งอัมพรสถานมีโอกาสเข้าเผ้าพระพุทธเจ้าหลวงอยู่เสมอ และรับสั่งมาทำตาม พระราชประสงค์อยู่เนืองๆ พระพุทธเจ้าหลวงทรง หยั่งเห็นคุณอันวิเศษของพระยาสุขุมนัยวินิตยิ่งขึ้น งานใดที่รับสั่งพระยาสุขุมนัยวินิตพยายามทำการนั้นให้สำเร็จดัง พระราชประสงค์ จึงเป็นเหตุให้ทรงพอ พระทัยใช้สอยเจ้าพระยายมราชตั้งแต่นั้นมา เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป มีพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ฝากฝังให้เจ้าพระยายมราช เป็นธุระ ช่วยดูแลพระราชฐานด้วย

ต่อมาอีก 2 ปี พ.ศ. 2450 ย้ายจากกระทรวงโยธาธิการมาเป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล แต่พระพุทธเจ้าหลวงยังคงให้อำนวยการสร้าง พระราชวังดุสิตต่อไปตามเดิม ทั้งโปรดให้โอนกรมสุขาภิบาลซึ่งอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการมาขึ้นกับกระทรวงนครบาลด้วย พระยาสุขุมนัยวินิต พยายามศึกษาหน้าที่ราชการต่างๆและได้สมาคมคุ้ยเคย กับข้าราชการในกระทรวงนครบาลแล้ว เริ่มดำเนินงานจัดการปกครองท้องที่ โดยใช้วิธ ีปกครองเมืองต่างๆในมณฑลกรุงเทพฯ อย่างเดียวกับหัวเมือง ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย พอดีเกิดเรื่องชาวจีนในกรุงเทพฯปิดร้านค้าขาย สอบถามได้ความว่า ไม่มีความเดือดร้อนอันใด เป็นเพียงแต่จีนคนหนึ่งทิ้งใบปลิวให้ปิดร้าน จึงจำต้องปิดหมายความถึงถูกบีบคั้น จะไปร้องเรียน ก็ไม่ถึงจึงปิดร้านเพื่อ ให้ทางราชการมาระงับทุกข์ พระยาสุขุมนัยวินิตจึงปรึกษากับกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ตกลงใช้อุบายให้ทหารม้า 2 กองร้อยแยกเป็นหลายแถว เดินแถวผ่านไปตามถนนเจริญกรุงถึงบางรัก ซึ่งมีคนจีนอยู่มากคล้ายกับตรวจตรา ไม่มีใครรู้ว่าทหารม้าจะมาทำอะไร พอรุ่งขึ้นพระยาสุขุมนัยวินิตให้นายพลตะเวนสั่ง ให้จีนเปิดร้านเหมือนอย่างเดิม ทุกร้านยอมเปิดร้านกันจนหมด

ในปี พ.ศ. 2451 นี้เอง ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต เป็นที่เจ้าพระยามีสมญาจารึกในหิรัญบัตรว่า เจ้าพระยายมราช ชาตเสนางคนรินทร มหินทราธิบดี ศรีวิชัย ราชมไหสวรรยบริรักษ์ ภูมิพิทักษ์โลกาธิกรณ์ สิงหพาหเทพยมุรธาธร ราชธานีมหาสมุหประธาน สุขุมนัยบริหารเอนกยรวมาคม สรรโพดมสุทธิศุขวัฒนาการ มหานคราภิบาลอรรคมาตยาธิบดี อภันพิริยปรากรมพาหุคชนาม ถือศักดินา 10,000

เจ้าพระยายมราชรับราชการสนองพระเดชพระคุณตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เรื่อยมาถึงรัชการที่ 6-7 จนกระทั่งรัชกาลที่ 8 ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2477 ร่วมกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภากับกรมหมื่นอนุวัติจาตุรนต์ พ.ศ. 2478 ดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยาพิชเยนทร์โยธิน

เจ้าพระยายมราช รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้า แม้จะป่วยไข้แต่พอทำงานได้ก็จะทำด้วยความมานะอดทน จนกระทั่งล้มเจ็บ อย่างหนักครั้งใหญ่ อันเป็นครั้งสุดท้ายในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลยังประทับอยู่ในพระนคร และเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 เวลา 15.00 น. เจ้าพระยายมราช ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ถึงแก่อสัญกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบด้วยความเศร้าสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง โปรดเกล้าฯให้คณะผู้สำเร็จราชการ เสด็จไปแทนพระองค์ ในการพระราชทานน้ำอาบศพ ณ บ้านศาลาแดง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลองกุดั่นน้อย ประกอบพร้อมทั้งเครื่องเกียรติยศศพให้ ทางราชการประกาศให้ข้าราชการ ไว้ทุกข์ทั่วราชอาณาจักร มีกำหนด 15 วัน ให้สถานที่ราชการลดธงกึ่งเสา 3 วัน บรรดาสถานทูตและกงสุลต่างๆ ได้ให้เกียรติลดธงกึ่งเสา 3 วันเช่นกันและพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180